การกลับมาของเสือกระต่าย "แมวป่าเมืองไทย"


ภาพประกอบ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ผู้เขียนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าและผู้รู้เรื่องแมวป่าแต่อย่างใด แต่อยากนำเสนอข้อมูลอย่างง่ายให้คนไทยได้เข้าใจมากขึ้น เนื่องจากแมวป่าหรือเสือกระต่ายได้หายไปจากเมืองไทยกว่า40ปีแล้ว และในปัจจุบันยังไม่ค่อยมีคนเข้าไปศึกษามันมากนัก จึงยากต่อการศึกษาวิจัย 

เริ่มจากเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 มีการดักถ่ายภาพเสือกระต่าย หรือ Jungle cat ได้ในผืนป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 

ขอบคุณภาพจากคุณ Parinya Padungtin

จากข้อมูลพบว่าแมวป่าเมืองไทย หรือเสือกระต่าย หรือ Jungle cat ได้หายสาบสูญจากป่าไทยไปนานกว่า40ปีแล้ว ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับเสือกระต่ายนี้น้อยมาก จึงทำให้การศึกษาวิจัยค่อนข้างลำบาก ตลอด40ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีข้อมูลของเสือกระต่ายในธรรมชาติน้อยมาก ภาพในเว็บไซต์ส่วนใหญ่นั้นมาจากต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลในหลายๆครั้งของสัตว์ชนิดนี้ก็ถูกคัดลอกมาจากต่างประเทศ ซึ่งถูกแปลจากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยอีกทีเพื่อการศึกษา

แผนที่ที่อยู่อาศัยของเสือกระต่าย หรือ Jungle cat.
แต่ทว่าหากสืบข้อมูลของเสือกระต่ายดู เราพบว่าสายพันธุ์ของมันนั้นแพร่กระจ่ายอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาทางตะวันออกเฉียงเหนือ, ผ่านตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ และมาสิ้นสุดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยของเรานั้นคือหางแถวหรือเป็นจุดสิ้นสุดการเดินทางของ Jungle cat.

ที่มาของคำว่า "เสือกระต่าย" ความจริงมันไม่ใช่เสือที่ดุร้ายแต่อย่างใด มันจัดอยู่ในเสือขนาดเล็กหรือกลุ่มบรรพบุรุษของแมวบ้าน มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน เนื่องจากมันมีใบหูที่ใหญ่ จึงทำให้แมวป่าชนิดนี้ได้ฉายาว่า "เสือกระต่าย" 

มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังที่ไม่รกชัฏนัก จับสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยบนพื้นดินกินเป็นอาหาร เช่น กระต่ายป่ากบหนูกิ้งก่า หรือนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารหลัก ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน

เสือกระต่าย ภาพจาก Google
เสือกระต่าย ภาพจาก Google
เสือกระต่าย ภาพจาก Google

ความเสี่ยงของ Jungle cat.
ข้อมูลสากลของ Jungle cat เป็นที่น่าประหลาดใจว่า จริงๆแล้วแมวป่าหรือเสือกระต่ายมันหาง่ายมากในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยนั้นกลับหายากหรือจนเกือบจะไม่หลงเหลือเลยด้วยซ้ำ นี่จึงเป็นเครื่องตอกย้ำว่า เราบุกรุกทำลายป่ามากเกินไปหรือป่าว ?

ทางด้านต่างประเทศนั้นพบแมวป่าชนิดนี้บ่อยมาก เมื่อนานมาแล้วเขาได้นำแมวป่ามาผสมกับแมวบ้านจนเกิดแมวที่ชื่อ Chausie หรือแมวชอซี ซึ่งถูกจดทะเบียนและเป็นที่ยอมรับในสมาคมแมวนานาชาติ 

แมว Chausie cat ลูกผสมของเสือกระต่าย(Jungle cat และแมวบ้าน)


หากเจาะลึกอีกนิดทางแผนภูมิ เราจะพบญาติวงศ์พงศาของแมว 

แผนภูมิแมวลายเสือ
Jungle cat หรือเสือกระต่ายนั้นถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มแมวป่าขนาดเล็ก จากภาพเราจะเห็นได้อยู่ในกลุ่มของ Felis ซึ่งกลุ่มนี้ถ้าพูดให้เข้าใจโดยง่ายคือกลุ่มของเสือขนาดเล็ก  

เมื่อพูดถึงแมวลายเสือแล้ว เราจะเห็นแมวบ้านลายเสืออยู่บ่อยๆ เช่น แมววัด, แมวจร, แมวข้างถนน, แมวหน้าเซเว่น หรือแม้แต่แมวบ้าน ฯลฯ

ความจริงแล้วแมวลายเสือพวกนี้ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ต้นตอของแมวลายเสือในประเทศไทยนั้นมาจากต่างประเทศ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ในสมัยอดีตที่กรุงศรีอยุธยา, อาณาจักรสยาม, กรุงรัตนโกสินทร์ ค้าขายกับชาวตะวันตกทางเรือ ไม่ว่าจะเป็นพวกฝรั่งหรือพวกแขก การเดินทางทางเรือนั้นใช้เวลานานหลายเดือน หรือเกือบปีในทวีปยุโรป พวกเขานำแมวท้องถิ่นขึ้นเรือสำเภาและเรือกลไฟมาด้วยเพื่อมาจับหนู เมื่อมาถึงสยามแล้วพวกเขาได้นำสินค้าลงเรือจนหมดรวมถึงแมว จึงทำให้ลายเสือเริ่มเข้ามาแพร่พันธุ์ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

แมวบ้านที่เป็นแมวไทยจริงๆนั้นเช่น แมววิเชียรมาศ, แมวมาเลศ, แมวดำโกนจา, แมวศุภลักษณ์, แมวเบอร์มีส, แมวสีกลีบบัว ฯลฯ

บรรพบุรุษของแมวลายเสือกลุ่มนี้ อาธิ เช่น African Wind cat, European Wind cat ซึ่งกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือไปจนถึงยุโรป ซึ่งเป็นญาติห่างๆของ Jungle cat หรือเสือกระต่ายอีกที 

African Wind cat. ญาติห่างๆของเสือกระต่าย และเป็นรากเหง้าของแมวบ้านลายเสือ
แมวลายเสือจำพวกนี้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น2ประเภท คือ 1.กลุ่มที่อยู่ในธรรมชาติจริงๆ 2.กลุ่มที่กลายมาเป็นแมวบ้าน ซึ่งทั้ง2กลุ่มนี้คือสายพันธุ์เดียวกัน อาจจะต่างกันทางด้านยีนส์แฝงและการผสมข้ามสายพันธุ์ รวมถึงอุปนิสัยตามสิ่งแวดล้อม

เมื่อเราศึกษาอดีตจะพบว่า แมวป่าในธรรมชาตินั้นความจริงแล้วไม่ได้ห่างหายเราไปไหน แต่ส่วนหนึ่งเพราะมนุษย์เข้าไปอยู่ใกล้แมวป่ามากเกินไปจนทำให้เกิดวิวัฒธนาการจากแมวป่าสู่แมวบ้าน 

1. กลุ่มแมวป่าเมืองไทย หรือ Jungle cat ที่เมืองขยายเข้าสู่ป่า จนทำให้แมวป่าเข้ามาผสมกับแมวบ้าน ในอดีตประเทศไทยมีบันทึกว่ากรุงเทพมหานครเองก็มีแมวป่า หรือแม้แต่กรุงศรีอยุธยา มีสัตว์ตระกูลแมวป่าหนาแน่นรวมถึงเสือปลา แต่ราชสำนักกลับมองว่าเป็นแมวร้ายให้โทษ

2. กลุ่มของแมวป่า Wild cat (African & European) ที่เข้ามาประเทศไทยทางเรือสินค้า 

ยีนส์ของแมวป่าที่พัฒนาเป็นแมวบ้าน (แมววัดในประเทศไทย)
ในปัจจุบันเราไม่สามารถทราบได้ว่าแมวลายเสือพื้นบ้านของไทยมาจากไหนบ้าง ? ไม่ว่าจะเป็น Jungle cat, Wild cat หรือแม้แต่ Abyssinian cat ล้วนแต่เป็นแมวที่มีอยู่ในธรรมชาติจริง

หลายคนกังวลว่าลงข่าวแบบนี้มันจะเสี่ยงต่อการถูกลักลอบค้าไหม ?

สำหรับคนที่กำลังคิดแบบนั้น คือจะบอกว่า

1. ไม่ต้องไปเอาออกจากป่ามาให้เสียเวลา ลูกผสมแมววัดแมวจรเยอะมากกกก ยีนส์ของแมว Jungle cat, Wild cat, Abyssinian cat มีอยู่ทั่วเมืองไทย มันอยู่ที่ว่าคุณจะเจอไหมเท่านั้นเอง ไม่ต้องคิดเยอะ ขยันเข้าวัดทำบุญเดี๋ยวมันเดินออกมาให้คุณเห็นเอง

2. ที่สำคัญวงการแมวในต่างประเทศเขาพัฒนาไปไกลมาก ถ้าอยากได้สั่งซื้อเอาจะง่ายกว่า ไม่แพง ถ้าคุณจับแมวป่ามาคุณแน่ใจหรอว่าจะเลี้ยงได้อย่างมีความสุข เอาง่ายๆว่าเช่น แมววัดที่กลัวคน เปียวๆ ว่องไว ไปจับให้ได้ก่อน ต่อให้จับได้ก็ใช่ว่ามันจะเอามาเลี้ยงแล้วเชื่อง  

สิ่งที่พวกเราคนไทยควรทำคือ ช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าให้ยืนยงคงกระพันธ์ไม่อายชาติอื่นเขา ช่วยกันเป็นกระบอกเสียงให้รุ่นลูกรุ่นหลานรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ ช่วยกันรักษาสายพันธุ์ Original cats ในธรรมชาติให้อยู่คู่ผืนแผ่นดินไทย 

เสือกระต่าย ภาพจาก Google

โดยส่วนตัวผู้เขียนแล้วมองว่าเรื่องนี้เป็นดาบ 2 คม

1. คือถ้าคนชั่วเขาจะเอา เขาก็เอาอยู่ดี ซ่อนให้ตายก็ไม่มิด ดูตัวอย่าง ละมั่ง เลียงผา ตัวนิ่ม นกหายาก หรือแม้แต่ต้นพยูง ต้นสัก แก่นไม้กฤษณา อยู่ในป่าลึกแท้ๆแต่ทำไมคนลักลอบถึงได้รู้ได้ 

2. มองในด้านดี เมื่อข่าวนี้ถูกเปิดเผย คนไทยได้รู้จักความสำคัญของเสือกระต่ายหรือแมวป่ามากขึ้น จากที่ไม่เคยศึกษาและวิจัยกัน ได้เกิดการตื่นตัวร่วมมือของหลายหน่วยงาน และที่ดีไปกว่านั้นคือเราได้ช่วยเป็นหูเป็นตา หากเราพบเจอการลักลอบจริงๆเราสามารถแจ้งดำเนินคดีได้ ผู้ที่ต่อต้านสัตว์ป่าก็สามารถเข้าใจได้ว่านี่เป็นสัตว์ป่านะ เราไม่สนับสนุนคุณ ฯลฯ  เมื่อเราได้รู้ว่าเสือกระต่ายยังอยู่ในป่าผืนใด เราก็ยอมจะนำสัตว์คืนสู่ป่าได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับ ละมั่ง เนื้อทราย นกกระเรียน มีการเพาะพันธุ์คืนสู่ถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม 


เขียนเมื่อ : 18 กุมภาพันธ์ 2560 











กด Like ติดต่ามข่าวสาร (กรุณารอ 10 วินาที)

Please Wait 10 Seconds...!!!Skip

ความคิดเห็น