แมวไทยที่พบในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1. แมวไทยโบราณตามตำราสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา (แมวไทยมงคล 17 ชนิด) ได้แก่
1. แมวไทยโบราณตามตำราสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา (แมวไทยมงคล 17 ชนิด) ได้แก่
- แมววิเชียรมาศ
- แมวศุภลักษณ์
- แมวมาเลศ หรือแมวสีสวาด หรือแมวไทยโคราช
- แมวดำโกนจา
- แมววิลาศ
- แมวแซมเสวตร
- แมวเก้าแต้ม
- แมวไทยเบอร์มีส
- แมวไทยท็องกินีส
- แมวขาวมณี
- แมววิฬาร์กรุงเทพ
- แมววิฬาร์กรุงศรี
- แมววิฬาร์กรุงสยาม
- แมวสีกลีบบัว
รวมมีแมวไทย 14 ชนิด
และยังแบ่งแมวไทยออกได้อีก 3 ประเภท ได้แก่
1. แมวไทยที่มี Genetic หรือมีพันธุกรรมเป็นของตัวเอง ได้แก่
- แมววิเชียรมาศ (cscs BB DD)
- แมวไทยเบอร์มีส (cbcb BB DD)
- แมวไทยท็องกินีส (cscb BB DD)
- แมววิฬาร์กรุงเทพ (cmcm BB DD)
- แมววิฬาร์กรุงศรี (cbcm BB DD)
- แมววิฬาร์กรุงสยาม (cscm BB DD)
- แมวศุภลักษณ์ (CC bb DD)
- แมวดำโกนจา (CC BB DD)
- แมวมาเลศหรือแมวสีสวาด (CC BB dd)
- แมวสีกลีบบัว (CC bb dd)
- แมวขาวมณี (WW และ Ww)
- แมววิลาศ ปัจจุบันยังไม่พบ Genetic ที่เป็นลายคงตัว แต่เมื่อนำแมววิลาศมาจับคู่ผสมกันสามารถให้ลูกแมววิลาศคล้ายกับพ่อและแม่ได้ แต่ไม่สามารถทำให้ลายแมววิลาศตรงตามระเบียบแบบในตำราสมุดข่อยได้ ส่วนมากหางไม่เป้นสีขาวทั้งหาง และลายเส้นที่หลังยังไม่เสถียร และที่สำคัญแมววิลาศในตำราสมุดข่อยหลายเล่มมีลักษณะไม่ตรงกัน เช่น ตำราวัดอรุณฯ มีทั้งแมววิลาศรอบคอขาวเป็นวงกลม, แมววิลาศรอบคำดำแต่ท้องคอขาว, แมววิลาศที่ใส่ถุงเท้ายาวถึงท้อง, แมววิลาศหูขาวและหูดำ, แมววิลาศที่ใส่ถุงเท้าทั้ง 4 ข้าง ถุงเท้ายาวเท่ากันแต่ถุงเท้ายาวสูงแค่หัวเข่า เป็นต้น รวมถึงลักษณะหน้าขาวใบโพธิ์ที่มีหลายแบบ เช่น หน้ากากที่เป็นรูปใบโพธิ์แบบใบไม้ แต่ลายขาด (หน้าผากดำ) และแบบหน้าใบโพธิ์ที่เป็นเส้นสีขาวยาวขึ้นไปถึงหัวหรือคอ ซึ่งในตำราสมุดข่อยเองก็ยังมีความกำกวมสูง และแมววิลาศที่พบในปัจจุบันก็ยังเป็นแบบนั้นอยู่ คือมีหลายแบบ แมววิลาศจึงสันนิฐานว่าเป็นเพียงลายบังเอิญที่สวยงามเท่านั้น (หรือลายมงคลความความเชื่อสมัยอยุธยา) ซึ่งในอดีตชาวอยุธยาได้จดบันทึกไว้ แต่คนรุ่นหลังนำมาเรียกเป็น "สายพันธุ์" แต่กลับมีความกำกวมเรื่อง Genetic เป็นอย่างมาก แมววิลาศมีพันธุกรรมคล้ายกับแมว White Spotting Dominant หรือจำพวกแมวลายวัว แมวดำใส่ถุงเท้า แมวดำหน้าบโพธิ์ ฯลฯ แต่มี Low-grade สีขาวต่ำกว่า 40%
- แมวเก้าแต้ม ปัจจุบันไม่พบ Genetic แมวเก้าแต้มที่มีแต้มตรงตำแหน่งแบบในตำราสมุดข่อย และตำราสมุดข่ยเองก็บันทึกแมวเก้าแต้มไม้หลายแบบ จึงสันนิฐานว่าแมวเก้าแต้มเป็นแมวลายบังเอิญเช่นเดียวกัน เพียงแค่ยึดหลัก "แมวขาวที่มีแต้มดำ 9 แห่ง" เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยา (ก่อน พ.ศ. 2310) ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว การจดบันทึกจึงจดเพียงว่าแมวมงคลที่มีแต้ม 9 แห่ง เราจึงไม่สามารถตีความว่าแมวในตำราโบราณเป็น "สายพันธุ์" ไม่ได้ทุกชนิด แมวเก้าแต้มในปัจจุบันมี Genetic เป็น White Spotting Dominant แต่เป็นแบบ High-grade Spotting ที่มีสีขาวมากกว่า 60% ขึ้นไป
- แมวแซมเสวตร เนื่องจากเคยนำแมวแซมเสวตรมาทดลองเลี้ยงและนำไปตรวจ DNA แล้ว ปรากฎว่าในเวลาต่อมาไม่นาน แมวแซมเสวตรมีขนกลับไปเป็นสีดำโกนจาเหมือนเดิม ซึ่งแมวแซมเสวตรที่เคยเจอในเมื่อไทยเป็นแบบนี้ทุกตัว (ในตำราหมายถึงแมวดำที่มีขนขาวแซมทั้งตัวจนมองเหมือนสีตะกั่ว ไม่ใช่ขนสีขาวแซมเพียงไม่กี่เส้น) เมื่อนำแมวดังกล่าวไปตรวจ DNA พบว่ามันเป็นแมวดำโกนจาปกติ จึงหาสาเหตุและตั้งข้อสันนิฐานว่า แมวแซมเสตรตามตำราสมุดข่อยอาจเป็นเพียงแมวดำโกนจาที่ป่วยเป็น Fever Coat เท่านั้น และไม่ได้เกิดกับแมวดำโกนจาเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับแมวทุกตัว ทุกวัย และทุกสายพันธุ์ แต่จะพบมากในแมวเด็กที่ขาดวิตามิน หรือไม่แข็งแรงตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาจึงมีลักษณะแซมเสวตร แต่สามารถหายได้ในตอนโต นอกเหนือจากนี้ยับพบได้ในแมวที่เคยผ่าตัด/ทำหมัน หรือเคยโดนโกนขน เมื่อร่างกายเกิดคามผิดปกติ ขนที่งอกขึ้นมาจึงมีสีขาว ซึ่งเป็นเส้นขนแมวป่วยที่ขาดเม็ดสีเข้ามาหล่อเลี้ยงโดยฉับพลันนั่นเอง
Update : สิงหาคม 2024
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น