แมวหินโทษ แมวอาภัพที่ออกลูกมาเท่าไรก็ตายหมด

แมวหินโทษ 

แมวมงคลตามตำราสมุดข่อยโบราณนั้นมี ๑๗ชนิด แต่ยังมีแมวร้ายให้โทษอีก ๖ชนิด หนึ่งในนั้นคือแมวหินโทษ

เมื่อพูดถึงแมวในตำรา หลายคนมักจะเข้าใจว่าแมวทุกตัวต้องมีสายพันธุ์ และพยายามที่จะตามหาแมวชนิดนั้นๆให้เจอ เช่น แมววิเชียรมาศ, แมวศุภลักษณ์, แมวสีสวาด ฯลฯ ซึ่งมีตัวตนจริงในตำราแมวมงคล แต่สำหรับแมวร้ายให้โทษแล้ว แมวในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่สายพันธุ์แต่อย่างใด แมวร้ายให้โทษในตำรานั้นหมายถึงลักษณะแมวที่เป็นอัปมงคล สามารถเกิดขึ้นได้ทุกสายพันธุ์ เมื่อเลี้ยงแล้วจะเกิดความวิบัติ 

แมวหินโทษติดอยู่ ๑ ใน ๖ ของแมวร้ายให้โทษ

แมวหินโทษ ในตำราสมุดข่อยไทย ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุด British Library ประเทศอังกฤษ

ในตำราที่มีความเก่าแก่มากๆนั้นมักจะไม่วาดรูปแมวเอาไว้ แต่จะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแทน โดยเฉพาะแมวร้ายให้โทษก็จะถูกแยกส่วนออกไปเพื่อไม่ให้รวมอยู่กับความมงคล ตำราแมวหลายๆฉบับนั้นถูกเขียนอยู่อยู่ในตำราดูบ้านเมือง ตำราช้างคชร ตำราม้า ตำรายา ฯลฯ ตำราแมวบางฉบับไม่มีแมวร้ายให้โทษเลยก็มี

แมวหินโทษในเนื้อความส่วนใหญ่ระบุว่า... 

แมวที่คลอดลูกออกมาแล้วลูกตายหมดยกคอก ออกมาเท่าใดก็ตายเท่านั้น บ้างก็ว่านอนทับลูกตายโดยไม่มีความเหลียวแลใดๆ คนโบราณจะเรียกแมวชนิดนี้ว่าแมวหินโทษ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแมวสายพันธุ์อะไร แมวทุกสายพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามตำรานี้สามารถเป็นแมวหินโทษได้

ตำราแมวของวัดบวร ฯ

ตำราแมที่ ๒๗๒

ตำราแมวบางฉบับเรียกแมวชนิดนี้ว่า "แมวชั่วและแมวอัปปรี" หากเลี้ยงแมวหินโทษไว้ในบ้านจะเกิดโรคาพญาภัยอันตราย ทรัพย์สินมีค่ารวมทั้งวัวควายก็จะสูญสิ้น มีเรื่องทะเลาะวิวาททุกค่ำเช้า ฯลฯ ถึงแม้จะเป็นพราหมณ์และสงฆ์หากเลี้ยงแมวหินโทษไว้ก็จะเกิดความพินาศเช่นกัน

หลายคนคงสงสัยว่าแมวหินโทษมันแปลว่าอะไร ??
เมื่อพูดถึงแมวหินโทษ ทุกคงต้องนึกถึงก้อนหินเป็นแน่แท้...


หินโทษ หรือ หิณโทษ เป็นภาษาบาลี สามารถขยายได้ว่า หินา-โทษะ

ก่อนอื่นเลยผู้อ่านต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่านี่คือภาษาบาลี จริงๆแล้วคำว่า หินโทษ อ่านว่า หี-นะ-โทษ หรือ หี-นา-โทษ 

คำว่าหีนะ หรือ หีนา แปลว่า ความเลว, ความทราม, หรือความเลวทราม, ความบกพร่อม, ความต่ำช้าสามานย์

จริงๆแล้วในภาษาบาลีไม่ใช่คำหยาบอะไร เช่น 
- คำเรียกนิกายหนึ่งของพุทธคือ หีนยาน แปลว่ายานอันคับแคบ
- ใจทมิฬหีนชาติ แปลว่า ใจหยาบช้าชาติกำเนิดต่ำ

หลายท่านที่อ่านบทความนี้คงมีความสงสัย มันจะไม่หยาบแน่ๆใช่ไหม ?
นอกเหนือจากนี้แล้วยังสามารถพบคำนี้ในบทสวดมนต์พิธีอีกด้วย 
เช่น บทพระวิภังค์ และบทสวดมาติกา
บทสวดพระวิภังค์
ขยายความต่อจากบทสวดพระวิภังค์ด้านบน
พระวิภังค์คืออะไร ?
เชื่อว่าทุกคนต้องเคยฟังแน่นอน แต่คงจะฟังกันไม่ออก
พระวิภังค์ คือบทสวดพระอภิธรรม(สวดศพ) 1ใน7บท

หลายคนยังคงงง ? คือถ้าพูดภาษาชาวบ้านเวลามีงานศพที่วัด พระจะถือตาลปัดสวดบทนี้หน้าศพ ประกอบไปด้วย 1จบมี7บท สวดทั้งหมด4รอบ รวมทั้งหมด28บท เพราะฉะนั้นบทพระวิภังค์จะออกมา4รอบ (ใครเคยไปฟังสวดศพคงจะนั่งเมื่อย เมื่อไรพระจะสวดเสร็จหนอ) ซึ่งบทสวดก่อนบทพระวิภังค์คือบทพระสังคิณี (กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา)   
บทสวดมาติกา

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว มาต่อกันอีกสักนิด
ถ้าเอาแบบจังๆเลยคือบทสวดมาติกา

บทมาติกาคืออะไร ? มาติกา หรือ ธัมมะพระสังคิณีมาติกา คงหนีไม่พ้นเรื่องศพอีกตามเคย สมมุติว่าเย็นวันนี้จะเผาศพตอน5โมงเย็น ในตอนเช้าหรือเพลจะต้องมีการเลี้ยงภัตราหารแด่พระสงฆ์บนศาลา (ประมาณว่าสวดครั้งสุดท้ายก่อนเผา) เมื่อพระสงฆ์ฉันท์เสร็จก็จะทำการสวดมาติกาให้ แล้วตอนเย็นจึงเผาศพได้ 

ทีนี้ในบทสวดมาติกาคำว่า หีนา แปลว่าอะไร ?

คำแปลบทมาติกา

ส่วนคำว่าโทษ หรือ โท-ษะ แปลว่าตรงตัว ความไม่ดี, ความชั่ว, ความผิด, ความร้าย ฯลฯ

แมวหินโทษ ตำราแมวที่ ๒๓๖ จากหอสมุดแห่งชาติ

เมื่อรวม แมว-หีนา-โทษะ ในรากศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต แมวหินโทษแปลว่าแมวอย่างชั่ว, แมวเลวทราม, แมวต่ำช้าสามานย์ ออกลูกมาเท่าไรก็ตายหมด หรือจะกล่าวถึงแมวนี้ไม่มีบุญได้เลี้ยงลูกก็ได้ หรือบางตำราว่าแมวที่คลอดลูกมาแล้วนอนทับลูกตาย หมายถึงแมวอัปปรีที่ไม่เลี้ยงลูก ไม่มีความเป็นผู้ให้กำเนิด คนโบราณจึงจัดแมวประเภทนี้อยู่ในกลุ่มของแมวอัปมงคลหรือแมวร้ายให้โทษ

แต่คนไทยคงเกรงว่าคำนี้จะหยาบจึงเขียน หินโทษ แทนสระ E

ซึ่งรวมถึงบทสวดต่างๆในมนต์พิธีด้วย จะออกเสียงเป็น I มากกว่าสระ E 
แต่ถ้าพูดถึงคำภาษาบาลีเลยจริงๆ พระที่เรียนปริยัติธรรมคงจะตอบได้ว่ามันออกว่า E จริงๆ
หรือในบางวัดจะสวดออกเสียงสระ E ไปเลยก็มี เพราะที่อินเดียเขาพูดกันแบบนี้

ตำราแมววัดท่าพูด 

ข้อคิด
ตำราแมวไทยโบราณนั้นมีมานานมากแล้ว สืบสาวราวเรื่องได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะฉะนั้น เราคนไทยในยุคปัจจุบันไม่ควรเอาความคิดส่วนตัวมาตัดสินบรรพบุรุษคนไทยในอดีต ว่าทำไมเขาเกลียดแมว เขาไม่รักแมวหรอ จะแยกประเภททำไม แมวอะไรก็น่ารักเหมือนกัน ฯลฯ

ในสมัยก่อนนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีตู้เย็น ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกแบบปัจจุบัน มนุษย์ทุกคนหาเช้ากินค่ำ อาหารที่หามาถ้าไม่รีบกินรีบใช้ก็คงจะบูดจะเสีย หากมีแมวมาขโมยอาหารไป หรือทำลายข้าวของ คงไม่มีใครชอบเป็นแน่ คนไทยในอดีตจึงแยกประเภทถึงแมวมงคลและอัปมงคล สิ่งใดควรเลี้ยงหรือไม่ควรเลี้ยง 

มนุษย์เองก็ถูกแยกประเภทเช่นกัน เช่น
  • มนุสสเปโต - หมายถึงมนุษย์ในคราบเปรต คือผู้ที่หวังผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว ต้องการสิ่งใดก็จะรีบแย่ง รีบเอา พฤติกรรมคล้ายกับผีเปรตที่เพียรขอส่วนบุญ เมื่อมีบุญก็ต้องมาแย่งกัน "สเปโต" หมายถึงเปรต มนุสสเปโตมักจะทำทุกอย่างเพื่อให้ตนอยากได้อยากมี แม้นแต่การทำบุญก็ยังต้องหวังผลตอบแทน มนุษย์ผู้ไม่เคยให้ แต่จะขอให้ได้เพียงอย่างเดียว
  • มนุสสติรัจฉานโน - หมายถึงมนุษย์ที่มีจิตใจเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ไม่มียางอาย ไม่มีหิริโอตตัปปะ ชอบด่าลูก ด่าผัว ด่าเมีย หรือด่ามนุษย์ด้วยกันเอง ไม่มีความเกรงกลัว มีอารมณ์เกลี้ยวกลาดฉุนเฉียว เมื่อไม่พอใจอะไรพร้อมที่จะแสดงออกเสมอ การกระทำคล้ายกับสัตว์เดรัจฉาน เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่มีหิริโอตตัปปะ
  • มนุสสนิรโย - หมายถึงมนุษย์ที่มีจิตใจเยี่ยงสัตว์นรก มีพฤติกรรมเลวทราม ใฝ่ต่ำ ชั่วช้าสามานย์ มักผลบาปเยี่ยงสัตว์ที่อยู่ในขุมนรกภูมิ มีจิตใจที่โหดเหี้ยม อำมหิต มนุสสนิรโยคือคนในคราบสัตว์นรก คนประเภทนี้มักถูกด่าว่า "ไอ้สัตว์นรก" หมายถึง มนุสสนิรโย
  • มนุสสอสุรกาโย - หมายถึงมนุษย์ในคราบอสุรกาย จิตใจเต็มไปด้วยความโกรธ โทสะ ความอาคาตแค้น การกระทำไร้ความปราณี ใจไม้ไส้ระกำ มีนิสัยหยาบคาย จิตใจหยาบกระด้าง ชอบทำแต่เรื่องอับปรีย์ มนุสสอสุรกาโยมักจะมีใจที่เร่าร้อน ไม่มีความสุข เป็นผู้ที่ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความอาคาตและโกรธตลอดเวลา คล้ายกับอสุรกายที่ถูกไฟเผาอยู่ในนรกภูมิ


เพราะฉะนั้น ผู้เขียนไม่มีเจตนาจะให้ผู้อ่านจงเกลียดจงชังแมวใดๆ
เพราะมนุษย์เองก็ถูกจัดประเภทไว้เช่นกันไม่ได้ต่างจากแมว

แต่สงสัยกันไหมละว่าใครเป็นคนตั้งชื่อแมวหินโทษ ??
แน่นอนหละ ต้องไม่ใช่ชาวบ้านหรือสามัญชนคนธรรมดา
การรู้ภาษาบาลีนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของนักปราชญ์จริงๆ เช่น
 เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ? โหนหลวง ? พราหมณ์ ? พระสงฆ์ ? เชื้อพระวงศ์ ? ฯลฯ

ถ้าเป็นพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันการที่จะเรียนภาษาบาลีนั้นจะต้องเข้าเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม
จบเปรียญ 3 ก็จะได้ตำแหน่งพระมหา และพัดยศ1อัน
เปรียญธรรมมีทั้งหมด 9 ประโยค
การประดิษฐิ์อักษรบาลีเข้าด้วยกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
การที่จะแต่งคำบาลีเป็นประโยคได้นั้นจะต้องเรียนกันสูงจริงๆ

ลองย้อนมองไปที่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สามัญชนคนส่วนมากคงไม่รู้หนังสือกันแน่นอน
การจะเรียนหนังสือนั้นคงต้องเข้าไปที่วัด
ยิ่งจะเรียนต่อภาษาบาลี วัดนั้นจะต้องมีพระครูที่รู้บาลีด้วย
คนที่จะมานั่งเรียนภาษาบาลีนั้งคงจะมีเพียงไม่กี่คน และคงจะต้องอยู่ในราชสำนักหรือไม่ก็วัด
รวมถึงการทำตำราโดยใช้ต้นข่อย น้ำหมึก สี ดินสอ ฯลฯ

ตำราแมวไทยโบราณ

โพสต์นี้คงมีไว้สำหรับการเรียนรู้จริงๆ ไม่ได้มีเจตนาจะให้เกลียดแมวใดๆ ในสังคมปัจจุบันยังมีแมวอีกมากมายที่ยังรอรอรับความช่วยเหลือ ทั้งแมวดีแมวร้าย แมวป่วย แมวพิการ ฯลฯ อยากให้ใช้วิจารณญาณในความเข้าใจ

นี่คือข้อมูลเชิงลึก จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทยที่มีอยู่จริง
โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม





เขียนเมื่อ : 21 ธันวาคม 2559

กดติดตาม Follow เพจ หรือรอ 7 วินาที

Please Follow page facebook or wait 7 Seconds...!!!-

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ24 มกราคม 2565 เวลา 14:06

    Play at Online Casino | Online casino web - deccasino.com
    Online casino is an exciting way for people 메리트카지노 to play online casino games on the go. 카지노사이트 It is a way to enjoy and bk8 have fun gambling online. If you

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น