แมวเบอร์มีส ขนสีน้ำตาล แต่ไม่มียีนสีน้ำตาล

“แมวเบอร์มีส” หรือแมวไทยเบอร์มีสที่มีขนสีน้ำตาลคล้ายกับแมวไทยศุภลักษณ์นั้น ความจริงแล้วมันไม่มียีนขนสีน้ำตาลเลย เมื่อนำเลือดไปตรวจ Genetic ในแล็ปทางวิทยาศาสตร์ จะพบว่าแมวเบอร์มีสมียีนขนสีดำ สีเดียวกับแมวดำโกนจา (B บีใหญ่) แต่ที่ขนมันมีสีน้ำตาลเพราะแมวเบอร์มีสอยู่ในตระกูลเดียวกับแมววิเชียรมาศ นั่นหมายความว่าแมววิเชียรมาศก็ไม่ได้มียีนสีครีมเช่นกัน ขนสีน้ำตาลกึ่งดำของทั้งคู่เกิดจาก “ยีนสีดำ” แต่เกิดกระบวนการสกัดสีในร่างกายทำให้ยีนสีดำถูก breed ให้ออกมาเจือจางจนกลายเป็นสีน้ำตาล หรือใครจะเรียกว่าสีเม็ดมะขาม, สีกาแฟ, สีโกโก้ ก็ไม่ว่ากัน ซึ่งทั้งหมดนั้นเกิดจากยีนสีดำ

ส่วนแมวที่มียีนสีน้ำตาลจริง ๆ คือ “แมวศุภลักษณ์” ในทางสากลเรียกว่าสี chocolate หรือสีช็อกโกแล็ต (b บีเล็ก) นอกนั้นแมวไทยชนิดอื่น ๆ มักมียีนสีดำหมด เช่น วิเชียรมาศ, เบอร์มีส, ท็องกินีส หรือแม้แต่แมวไทยโคราช, แมวลาเลศ หรือแมวสีสวาด (แมวสีเทา) ก็เป็นยีนสีดำเช่นเดียวกัน แต่เกิดการบอดสี (dilute) จนกลายเป็นสีดำ ดังนั้นแมวดำโกนจากับแมวสีเทาจึงมี Genetic ที่เหมือนกันมาก แต่แมวที่มีขนสีเทาแบบแมวสีสวาด คือแมวดำโกนจาที่เกิดการบอดสีหรือ dilute แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นแมวสีเทาไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามชาติ แต่มันคือแมวอีกชนิดที่วิวัฒนาการออกจากแมวดำเมื่อนานมากแล้ว

ยีนสีน้ำตาลในแมวบนโลก หลัก ๆ มีเพียง 2 สี
1. สีแมวศุภลักษณ์ ทางสากลเรียกว่าสี Chocolate (b)
2. สีอบเชย ทางสากลเรียกว่า Cinnamon (b')

สีอบเชยนั้นไม่พบในแมวไทย มีต้นกำเนิดจากแมวในทวีปแอฟริกา เช่น แมวอะบิสซิเนียน, แมวโซมาลี เป็นต้น ส่วนชื่อ Cinnamon หรืออบเชย มาจากเครื่องเทศชนิดหนึ่งทำจากเปลือกไม้ ม้วนเป็นแท่งวงกลม นิยมใส่ในอาหาร เช่น พะโล้ มีสีน้ำตาลอมส้ม เมื่อนำไปบดแล้วจะมีสีคล้ายขมิ้นชัน

กลับมาที่ยีนสีน้ำตาลของศุภลักษณ์ (b) จัดเป็นยีนด้อย ไม่ว่าจะผสมกับแมวไทยชนิดใดก็ตาม ยีนศุภลักษณ์มักจะกลายเป็นยีนแฝงเสมอ ออกลูกมากี่ตัว ๆ ลูกแมวมักจะไม่มีสีศุภลักษณ์ จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมแมวศุภลักษณ์ถึงใกล้สูญพันธุ์เต็มที สาเหตุเพราะมันไม่สามารถผสมพันธุ์กับแมวชนิดใดได้เลย นอกจากผสมพันธุ์กับแมวศุภลักษณ์ด้วยกันเท่านั้น เช่น

- แมวศุภลักษณ์ CC bb DD
- แมวเบอร์มีส cbcb BB DD

นำมา 2 ชนิดมาผสมกัน = Ccb Bb DD แมวดำโกนจา แฝงยีนหน้ากากแมวเบอร์มีส แฝงยีนสีน้ำตาบแมวศุภลักษณ์ ถึงแม้จะมียีนแฝงทั้ง cb (ยีนหน้ากากแมวเบอร์มีส) และ b (สีน้ำตาล chocolate แมวศุภลักษณ์) แต่แมวดำโกนจาเหล่านี้ยังเป็นแมวดำปิ๊ดปี๋ มองจากภายนอกไม่ออกว่ามียีนแฝงอะไรบ้าง (นอกจากมีดวงตาสีเหลืองเข้มคล้ายอำอันหรือไข่ยางมะตูม) ต้องนำไปตรวจ DNA เท่านั้นถึงจะทราบผล นี่จึงเป็นความหลากหลายของแมวดำโกนจาที่หลายคนไม่ทราบ ว่าเหตุใดแมวดำชอบออกลูกมาหลายสี บางคนกล่าวโทษแมวว่าไปมั่วผสมกับตัวอื่นมา แต่ความจริงแล้ว “แมวไทย” พวกมันมียีนแฝงได้หลายชนิด เพราะแมวไทยใช้กฎ Genetic ของ Mendelian genetics เหมือนกับกรุ๊ปเลือด A B O ซึ่ง gene ของแมวบนโลกมีจำกัดเหมือนกรุ๊ปเลือด แทบจะไม่มีทางเกิดสีใหม่ ๆ ได้เลย นอกจากการคบพบสายพันธุ์ใหม่ เช่น การค้นพบแมววิฬาร์กรุงเทพ (cmcm) เราจึงมียีนตัวใหม่ หากเปรียบเทียบจึงเหมือนการค้นพบกรุ๊ปเลือดใหม่ C D E F G เป็นต้น ดังนั้น แมวจึงมีสีซ้ำ ๆ ไม่สามารถเกิดสีแปลก ๆ ลายแปลก ๆ ได้แบบสุนัขและปลากัด

ความคิดเห็น

  1. ผมอยากรู่ว่า การดูแลแมวไทยยากมั้ย อยากลองเลี้ยงแมวพื้นบ้านของประเทศไทยดูบ้าง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น